หมวดหมู่ : ภาษาไทย
เรื่อง : แผนการของ NASA ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
blog : admin
ระดับ : [ มือใหม่ ]
อ่าน : 2533
พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2553
พิมพ์  

ดวงอาทิตย์ เป็นพลังผลักดันสำคัญเบื้องหลังสภาพภูมิอากาศของโลก แต่ความเปลี่ยนแปลงๆ ในดวงอาทิตย์มีผลกระทบมากเกินกว่าด้านสภาพอากาศบนโลกเรา

ผู้สื่อข่าว Voice of America, Suzanne Presto มีรายงานเกี่ยวกับแผนการของ NASA หรือองค์การอวกาศ สหรัฐฯ ในการส่งดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งคาดกันว่า ดาวเทียมสังเกตการณ์ดังกล่าวจะส่งภาพของดวงอาทิตย์อย่างหาที่เปรียบไม่ได้กลับมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา "สภาพอวกาศ" ที่อาจมีผลกระทบต่อการสื่อสารทางดาวเทียม ระบบการนำร่อง และแม้กระทั่งสายไฟฟ้าบนโลก

ปรากฏการณ์ต่างๆ บนดวงอาทิตย์ ความเปลี่ยนแปลงในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์นั้น เป็นสาเหตุของสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "large particle events" หรือ "ปรากฏการณ์อนุภาคขนาดใหญ่" ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อโลกได้ อย่างเมื่อครั้งที่เกิดไฟฟ้าดับในภาคใต้ของสวีเดนเมื่อ 7 ปีมาแล้ว

Dean Pesnell นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ขององค์การอวกาศ สหรัฐฯ หรือ NASA อธิบายว่า เมื่อเกิด "ปรากฏการณ์อนุภาคขนาดใหญ่" บนดวงอาทิตย์ อนุภาคเหล่านั้นจะแผ่กระจายออกไปในห้วงอวกาศในระบบสุริยะ และผ่านเข้ามาทำปฏิกริยากับสนามแม่เหล็กของโลกเรา และอาจก่อกวนหรือยังความเสียหายแก่ระบบกระแสไฟฟ้าบนโลกได้

Dean Pesnell ซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์ควบคุมการบินอวกาศ Goddard ชานกรุงวอชิงตัน อธิบายว่า ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยา และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และสนามแม่เหล็กที่มีความเปลี่ยนแปลงจะส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าออกสู่ระบบสุริยะ หรือเปลี่ยนเป็นการปะทุระเบิด ส่งก๊าซพวยพุ่งออกสู่ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์เอง หรือเกิดการปะทุระเบิดที่ปล่อยสารวัตถุดวงอาทิตย์ออกสู่ห้วงอวกาศ เป็นปริมาณหลายพันล้านตัน

ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปรระดับพลังงาน และการแผ่รังสีในระบบสุริยะของเรา และอาจมีผลกระทบต่อเทคโนโลยี อย่างการสื่อสารโทรคมนาคม และระบบนำร่องต่างๆ บนโลกเราได้

ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ใหม่นี้จะส่งภาพถ่ายคุณภาพสูง คมชัดลึกกว่าภาพโทรทัศน์ HDTV 10 เท่า และรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของดวงอาทิตย์ และในสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์กลับมายังโลก คาดว่าข้อมูลและภาพถ่ายเหล่านี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากขึ้น และสามารถคาดทำนายพายุสุริยะและปรากฏการณ์อื่นๆ ของดวงอาทิตย์ ที่อาจมีผลกระทบถึงการทำงานของยานอวกาศในวงโคจรรอบโลก ตลอดจนระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม และระบบนำร่องทั้งหลายบนโลกได้

ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ใหม่นี้จะทำงานเป็นเวลาราว 5 ปี.



รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
วัน/ เดือน/ ปีเกิด :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
admin
นายวุฒิชัย ตุ้ยดา
31/3/2521
อบต.สะเอียบ
2 เรื่อง
[ มือใหม่ ]